วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รวมคำกลอนหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต (ฉบับสมบูรณ์) ๒


จงช่วยกัน ค้ำจุน พระพุทธศาสนา
   ศาสนา         อยู่ได้ทน         เพราะผลทาน
ช่วยจัดการ         เอาใจใส่         ปัจจัยสี่
ศาสนา            อยู่ได้นาน      เพราะการให้พลี
ถ้าไม่มี            ขาดพืชพันธุ์      ต้องบรรลัย
ส่วนทางพระ         สมณะ         ปฏิบัติชอบ
ต้องนบนอบ         รักษาตน         คนเลื่อมใส
อย่าปล่อยจิต         ให้ตกต่ำ         จากธรรมวินัย
จะเป็นภัย         กับศาสนา      ไม่ถาวร
ผู้ทรงธรรม         เป็นผู้นำ         พุทธบริษัท
ต้องปฏิบัติ         ไปตามธรรม      คำสั่งสอน
ถ้าพระสงฆ์         ปฏิบัติตรง      อย่างแน่นอน
ความถาวร         ของศาสนา      ชั่วฟ้าดิน
พระบิณฑบาต         โปรดญาติ      โปรดโยม
ศาสนาไม่ทรุดโทรม      เพราะญาติโยม      โปรดพระ
มีทั้งเหตุ            มีทั้งผล         ต่างคนต่างเสียสละ
เมื่อใดโยมไม่โปรดพระ      เมื่อนั้นพระ      ไม่มีมาโปรดโยม




   
จงฝึกจิตบังคับจิต      เพ่งพินิจ         ไม่ยอมเบื่อ
ให้จิตเกิดความเชื่อ         เหมือนเกลือ      รักษาความเค็ม
จงเพ่งพินิจ         ภายในร่าง      อย่าให้ออกนอกกาย
จิตจะเกิดความคลาย      เพราะเมื่อ      ด้ายตามเข็ม
ผู้ไม่เชื่อพระตถาคต      จะไม่รู้รส         ของความเค็ม
เมื่อด้ายไม่เดินตามเข็ม      รสความเค็ม      ก็ไม่มี
ผู้ไม่เชื่อไม่ศรัทธา         ไม่เพ่งพิจารณา      ไม่เห็นทาง
เกิดเป็นคนตาฟาง         จึงมอง         ไม่เห็นร่างผี
ร่างผีอยู่ในคน         ทั้งเหตุทั้งผล      มีอยู่ครบ
ถ้าไม่เป็นนักรบ         ก็ไม่ประสบ      ทางสวัสดี
นักรบกับกิเลส         ผู้วิเศษ         ทางธรรม
เพ่งพินิจอยู่ประจำ         บรรลุธรรม      ภายในเจ็ดปี
ผู้ไม่เชื่อพระ         ภาวนา         ไม่เกิดผล
เมื่อไม่มีความอดทน      ไม่หมดความจน      ก็ไม่หมดความมี




หลวงปู่เปลื้อง  ปัญญวันโต  
   “หลวงตาเปลื้อง”      ครองผ้าเหลือง      เปลื้องกิเลส
เปลื้องละเพศ         ปฏิบัติธรรม      พระกรรมฐาน
เปลื้องนิวรณ์         ความเห็นผิด      จิตชื่นบาน
เปลื้องอาหาร         ที่เป็นพิษ         ให้จิตเบา
เปลื้องตัว            เกียจคร้าน      การฝึกจิต
เปลื้องความ         เห็นผิด         จิตโง่เขลา
เปลื้องไฟราคะ         เผาร่างขันธ์      คันแล้วเกา
เปลื้องความเมา         สุขสำราญ      เรื่องการนอน
เปลื้องทั้งเงิน         เปลื้องทั้งทอง      ของมีพิษ
เปลื้องดวงจิต         ที่ไม่เชื่อธรรม      คำสั่งสอน
เปลื้องความทุกข์         เปลื้องความสุข      เปลื้องทุกตอน
เปลื้องความอาวรณ์      หลวงตาเปลื้อง      จบเรื่องเอย




ธรรมแปดข้อที่ปฏิบัติ
หนึ่ง   รับบิณฑบาต      ตามมรรยาท      ของนักพรต
สอง   ฉันในบาตร      รวมกันหมด      ทั้งคาวหวาน
สาม   เมื่อตั้งบาตร      มาถึงวัด         ไม่รับภัตรทุกประการ
สี่   ฉันมื้อเดียว      อธิษฐาน         ตามเวลา
ห้า   ไม่เอาหลัง      แตะพื้น         ทั้งกลางคืนและกลางวัน
หก   การภาวนา      เรื่องสำคัญ      มั่นรักษา
เจ็ด    ไม่รับวัตถุ      แทนปัจจัย      รับแต่ใบปวารณา
แปด   ยินดีอยู่ใน      เสนาสนะ      ที่เขาจัดสรร
   
ธรรมแปดข้อ      พิจารณาดู      อยู่ทุกวัน
   
จิตตั้งมั่น         คอยสังเกต      กิเลสตน
   
บวชภายแก่      แม้ชรา         ศรัทธามาก
   
จะทุกข์จะยาก      จะอันตราย      จะไม่สน(ไม่สนใจ)
   
ธรรมแปดข้อ      ที่ได้ปฏิบัติ      ฝึกหัดตน
   
ได้รับผล         ประสบสุข      ทุกประการ

 
ผู้ที่สร้าง  วิหารลานเจดีย์  นี้ไม่ยาก  คนส่วนมาก  สร้างกันได้  ไม่ขัดสน
ผู้ถือสัจจะ  ฝึกจิตใจ  ภายในตน  ผู้อดทน  หาได้ยาก  ไม่มากเลย




คำอธิษฐาน
   ขอแผ่ส่วนบุญ      ที่ได้บวชค้ำจุน         พระพุทธศาสนา
ยี่สิบสามพรรษา         ที่ได้ปฏิบัติธรรม         พระกรรมฐาน
ถือสัจจะ            ไม่ยอมละ         แปดประการ
ตั้งปณิธาน         ฝึกหัดตน            จนวันตาย
ธรรมแปดข้อ         ถือติดต่อ            อยู่เป็นนิจ
ผูกมัดจิต            โดยความเชื่อ         ไม่เบื่อหน่าย
บังคับจิต            ให้เพ่งพินิจ         ภายในกาย
เมื่อจิตคลาย         ละพยศ            หมดกังวล
บุญบารมี         เคยสร้างสม         มานมนาน
ขอเดชะ            คำอธิษฐาน         จงบันดาลผล
ผลความดี         ที่ได้ปฏิบัติ         ฝึกหัดตน
ขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล      ให้ถึงพวกท่าน         ทุกทุกคนนั้นเทอญ

           
ของไกล      มองใกล้
         
ของง่าย         ทำได้ยาก
         
ของดี         ไม่มีมาก
         
ของยาก         ทำด้วยใจ





ประเสริฐสี่ประการ
หนึ่ง   ประเสริฐสี่         ที่ประเสริฐ      เกิดเป็นมนุษย์
สอง   เป็นชาวพุทธ         เคารพ         พระพุทธศาสนา
สาม   ผู้ไม่ประมาท         เชื่อโอวาท      ของพระศาสดา
สี่   ผู้บำเพ็ญภาวนา         รู้ได้ชัด         ปัจจัตตัง
      
ประเสริฐสี่      ที่ประเสริฐ      เกิดเป็นมนุษย์
   
เป็นชาวพุทธ         ยอดยิ่ง         สิ่งทั้งหลาย
   
จิตผ่องแผ้ว         เห็นดวงแก้ว      ภายในกาย
   
เมื่อจิตคลาย         ตามพุทธพจน์      รู้รสธรรม
      
ประเสริฐสี่      เมื่อยังมี         อยู่ในโลก
   
ผู้มีโชค            เมื่อประสงค์      คงประสบ
   
ไม่มีโชค            วาสนา         หาไม่พบ
   
แม้ประสบ         ด้วยตน         ไม่สนใจ
      
เว้นแต่ผู้         มีบุญ         ค้ำจุนศาสน์
   
ผู้ไม่ประมาท         สุจริต         จิตเลื่อมใส
   
ท่านบัณฑิต         จิตผุดผ่อง      มองเห็นไกล
   
เพราะจิตใจ         ท่านผู้ดี         มีปัญญา
      
ส่วนคนพาล      เป็นมนุษย์      ทุจริต
   
ไม่เป็นมิตร         ทางพระ         พุทธศาสนา
   
เขาไม่เชื่อ         คำโอวาท         พระศาสดา
   
จึงไม่รู้จัก         ของมีค่า         เพราะตาฟาง


   
คนตาดี          มองเห็นผี      มีความสุข
ผู้ไม่ทุกข์            จิตเชื่อพระ      ตาสว่าง
พระบรมครู            ให้เพ่งดู      ภายในร่าง
เจอะหนทาง            ภายในตน      ทุกคนเอย
   
เป็นบุญเลิศ         ที่ได้เกิด      เป็นมนุษย์
ในสกุลชาวพุทธ         ผู้ค้ำจุน         พระศาสนา
ได้ครองผ้าธง            เพียรบำเพ็ญ      เห็นทันตา
สุดจะพรรนา            ธรรมปรากฏ      รสความเค็ม(รสความจริง)
   
เป็นบุญเลิศ         ผู้มาเกิด      เป็นมนุษย์
เป็นชาวพุทธ            จิตศรัทธา      สถาผล
น้อมธรรมมะ            มาปฏิบัติ      ฝึกหัดตน
ทุกทุกคน            รู้ได้ชัด         ปัจจัตตัง
ผู้ประมาท            ต้องเป็นทาส      อยู่ในโลก
แม้มีโชค            ไม่ทำดี         ไม่มีหวัง
ธรรมทั้งหลาย            พระตรัสไว้      ไม่ปิดบัง
หมดรักชัง            รู้ด้วยตน      ทุกคนเอย

ปฏิบัติธรรม      เห็นพระตถาคต      ต้องจิตคลาย
เมื่อเห็นกายในกาย      ก็หมด         ความสงสัย

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

โปรดแสดงความคิดเห็นด้วยเมตตาธรรม

บทความที่ได้รับความนิยม