วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทีมแพทย์ศิริราช เผยอาการอาพาธของหลวงตามหาบัว



     วันนี้ (27 ธ.ค.) เวลา 15.00 น.ที่ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตึกอำนวยการ ชั้น 2 ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธาน และทีมแพทย์ รศ.นพ.สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ร่วมกับ รศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และศ.นพ.สม หวัง ด่านชัยวิจิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าว “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” เข้ารับการรักษา โดย ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ เผย ผลการตรวจร่างกายเบื้องต้นพบปัญหาสุขภาพ ดังนี้ 1.โรคปอดอักเสบติดเชื้อที่ปอดทั้งสองข้าง มีน้ำในโพรงเยื้อหุ้มปอดซ้ายปริมาณปานกลาง 2.ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ 3.ภาวะทางเดินอาหารอุดตัน 4.ภาวะขาดสารอาหาร และ 5.ภาวะหลอดเลือดแดงที่ขาส่วนปลายอุดตัน โดยคณะแพทย์ได้วางแผนการรักษาหลวงตามหาบัวและติดตามอาการตลอด 24 ชั่วโมง 

     สำหรับอาการหลวงตามหาบัว ขณะนี้มีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ เนื่องจากมีปัญหาลำไส้อุดตัน ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็ก เนื่องจากขาดสารอาหาร มือเท้าเย็น นิ้วหัวแม่เท้าซ้ายหลุด เนื่องจากการอักเสบ และการขาดเลือดผ่านมา ทั้งนี้ ภายหลังเข้ารับการรักษาอาการภาพรวมอาการท่านดีขึ้น แพทย์ให้อาหารทางสายยาง อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้ หลวงตามหาบัว สนทนาได้แต่เสียงเบา ตอบคำถามได้ดี ซึ่งอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว โดยตามปกติอาการเหล่านี้จะต้องพักรักษาตัวอยูที่โรงพยาบาลประมาณ 2 สัปดาห์ ถามว่า ท่านจะออกจากโรงพยาบาลเมื่อไหร่ ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะที่ผ่านมาหลวงตามหาบัวปฏิเสธเข้ารับการรักษามาตลอด ดังนั้น การรักษาตัวของหลวงตามหาบัวจะนานแค่ไหน คงขึ้นอยู่กับหลวงตามหาบัวตัดสินใจ
      
       “ความ ดันโลหิต 137/73 มม.ปรอท ชีพจร 76 ครั้ง/นาที ไม่สม่ำเสมอ อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที อุณหภูมิ oxygen saturation 99% (oxygen cannula 2 L/min)”
      
       ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ทราบว่า หลายคนเป็นห่วงนิ้วหัวแม่เท้าซ้ายหลวงตามหาบัว ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุตั้งแต่สิงหาคม 2552 จนเกิดแผลที่เท้า และการรักษาไม่ได้คำนึงถึงเลือดมาเลี้ยงบริเวณดังกล่าว จึงทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี ประกอบกับหลวงตามหาบัว อายุ 98 ปี แผลไม่หายและมีอาการลุกลามนิ้วหัวแม่เท้าซ้าย กระดูก จึงกลายเป็นเนื้อตาย แล้วเริ่มเอาเนื้อตายออกเมื่อเดือนมีนาคม 2553 อย่างไรก็ตาม ปัญหาการไหลเวียนเลือดและเท้ารักษาหายภายใน 2 เดือน
      
       “
นับ ว่า โชคดีที่หลวงตามหาบัว ไม่มีโรคประจำตัว ทีมแพทย์จะติดตามอาการและรักษาอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง และวันนี้ได้เจาะเหลือดเพื่อนำไปตรวจแล้ว จะรู้ผลเย็นวันนี้ ซึ่งทีมแพทย์จะนำผลเลือดมาประกอบการรักษาหลวงตามหาบัว” ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว


ที่มา http://luangta.com/info/news_text.php?cginews_id=351&type=

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คิริมานนทสูตร (สัญญา ๙ และยอดมงกุฏเพชรคือระลึกถึงลมหายใจ)





เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม, เตนะ โข ปะนะ
สะมะเยนะ อายัส๎มา คิริมานันโท, อาพาธิโก โหติ ทุกขิโต พาฬ๎หะคิลาโน ฯ
อะถะโข อายัส๎มา อานันโท, เยนะ ภะคะวา, เตนุปะสังกะมิ ฯ
อุปะสังกะมิต๎วา ภะคะวันตัง อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิ ฯ
เอกะมันตัง นิสินโน โข อายัส๎มา อานันโท ภะคะวันตัง เอตะทะโวจะ ฯ

อายัส๎มา ภันเต คิริมานันโท อาพาธิโก ทุกขิโต พาฬ๎หะคิลาโน
สาธุ ภันเต ภะคะวา เยนายัส๎มา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมะตุ
อะนุกัมปัง อุปาทายาติ ฯ สะเจ โข ต๎วัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ
ภิกขุโน อุปะสังกะมิต๎วา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฯ
ฐานัง โข ปะเนตัง วิชชะติ, ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน ทะสะ สัญญา สุต๎วา

โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยะ ฯ กะตะมา ทะสะ ฯ

1. อะนิจจะสัญญา
2. อะนัตตะสัญญา
3. อะสุภะสัญญา
4. อาทีนะวะสัญญา
5. ปะหานะสัญญา
6. วิราคะสัญญา
7. นิโรธะสัญญา
8. สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา
9. สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา
10. อานาปานัสสะติ ฯ

1. กะตะมา จานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ
รูปัง อะนิจจัง  เวทะนา อะนิจจา  สัญญา อะนิจจา  

สังขารา อะนิจจา  วิญญาณัง อะนิจจันติ ฯ
อิติ อิเมสุ ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ อะนิจจานุปัสสี วิหะระติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ

2. กะตะมา จานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ

จักขุง อะนัตตา,  รูปัง อะนัตตา  (ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงเป็น รูปา อนัตตา)
โสตัง อะนัตตา, สัททา อะนัตตา
ฆานัง อะนัตตา, คันธา อะนัตตา
ชิวหา อะนัตตา, ระสา อะนัตตา
กาโย อะนัตตา, โผฏฐัพพา อะนัตตา
มะโน อะนัตตา, ธัมมา อะนัตตาติ ฯ

อิติ อิเมสุ ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ อะนัตตานุปัสสี วิหะระติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ

3. กะตะมา จานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา
ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง น๎หารู
อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง
ปัปผาสัง อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง มัตถะลุงคัง ปิตตัง เสม๎หัง ปุพโพ
โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา
มุตตันติ ฯ อิติ อิมัส๎มิง กาเย อะสุภานุปัสสี วิหะระติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ

4. กะตะมา จานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ พะหุทุกโข โข อะยัง กาโย พะหุอาทีนะโวติ ฯ อิติ
อิมัส๎มิง กาเย วิวิธา อาพาธา อุปปัชชันติ ฯ เสยยะถีทัง ฯ

จักขุโรโค โสตะโรโค ฆานะโรโค ชิวหาโรโค กายะโรโค สีสะโรโค กัณณะโรโค
มุขะโรโค ทันตะโรโค กาโส สาโส ปินาโส ฑะโห ชะโร กุจฉิโรโค
มุจฉา ปักขันทิกา สุลา วิสูจิกา กุฏฐัง คัณโฑ กิลาโส โสโส
อะปะมาโร ทันทุ กัณฑุ กัจฉุ ระขะสา วิตัจฉิกา โลหิตัง ปิตตัง
มะธุเมโห อังสา ปิฬะกา ภะคัณฑะลา ฯ ปิตตะสะมุฏฐานา
อาพาธาเสม๎หะสะมุฏฐานา อาพาธา วาตะสะมุฏฐานา อาพาธา สันนิปาติกา
อาพาธา อุตุปะริณามะชา อาพาธา วิสะมะปะระหาระชา อาพาธาโอปักกะมิกา
อาพาธา กัมมะวิปากะชา อาพาธา สีตัง อุณ๎หัง ชิฆัจฉา ปิปาสา อุจจาโร ปัสสาโวติ ฯ
อิติ อิมัส๎มิง กาเย อาทีนะวานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ

5. กะตะมา จานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อุปปันนัง กามะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ
อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง พ๎ยาปาทะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง วิหิงสาวิตักกัง
นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ
อุปปันนุปปันเน ปาปะเก อะกุสะเล ธัมเม นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ

6. กะตะมา จานันทะ วิราคะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ
เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง สัพพะสังขาระสะมะโถ
สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย วิราโค นิพพานันติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ วิราคะสัญญา ฯ

7. กะตะมา จานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ
เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง สัพพะสังขาระสะมะโถ
สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย นิโรโธ นิพพานันติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ

8. กะตะมา จานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ เย โลเก อุปายุปาทานา เจตะโส อะธิฏฐานาภินิเวสานุสะยา
เต ปะชะหันโต วิระมะติ นะ อุปาทิยันโต ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิะระตะสัญญา ฯ

9. กะตะมา จานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ สัพพะสังขาเรหิ อัฏฏิยะติ หะรายะติ ชิคุจฉะติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ

10. กะตะมา จานันทะ อานาปานัสสติ ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิต๎วา อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา ฯ
โส สะโต วา อัสสะสะติ สะโต
วา ปัสสะสะติ ฯ
ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ


สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ


จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ


สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ


นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ


อะยัง วุจจะตานันทะ อานาปานัสสะติ ฯ
สะเจ โข ต๎วัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน
อุปะสังกะมิต๎วา อิมา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข ปะเนตัง
วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน อิมา ทะสะ สัญญา สุต๎วา
โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยาติ ฯ

อะถะโข อายัส๎มา อานันโท ภะคะวะโต สันติเก อิมา ทะสะ
สัญญา อุคคะเหต๎วา เยนายัส๎มา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิต๎วา อายัส๎มะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา อะภาสิ ฯ

อะถะโข อายัส๎มะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา สุต๎วา

โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปัสสัมภิ ฯ วุฏฐะหิ จายัส๎มา
คิริมานันโท ตัมหา อาพาธา ตะถาปะหีโน จะ ปะนายัส๎มะโต
คิริมานันทัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ ฯ

ในอนัตตลักขณสูตร ก็เป็น "รูปัง ... อะนัตตา"



http://www.thammasatu.net/forum/index.php?topic=9821.0


บทสวดภาษาบาลี (อักษรไทย)

          เอวมฺเม  สุตํ ฯ  เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ,

เชตวเน  อนาถปิณฺฑิกสฺส  อาราเม ฯ
เตน  โข  ปน  สมเยน  อายสฺมา  คิริมานนฺโท,

อาพาธิโก  โหติ  ทุกฺขิโต  พาฬฺหคิลาโน ฯ
อถ  โข  อายสฺมา  อานนฺโท,  เยน  ภควา  เตนุปสงฺกมิ,

อุปสงฺกมิตฺวา  ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ  นิสีทิ ฯ
เอกมนฺตํ  นิสินฺโน  โข  อายสฺมา  อานนฺโท  ภควนฺตํ  เอตทโวจ ฯ

อายสฺมา  ภนฺเต  คิริมานนฺโท,  อาพาธิโก  ทุกฺขิโต  พาฬฺหคิลาโน
สาธุ  ภนฺเต  ภควา  เยนายสฺมา  คิริมานนฺโท,

เตนุปสงฺกมตุ  อนุกมฺปํ  อุปาทายาติ ฯ
สเจ  โข  ตฺวํ  อานนฺท  คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน

อุปสงฺกมิตฺวา  ทส  สญฺญา  ภาเสยฺยาสิ,
ฐานํ  โข  ปเนตํ  วิชฺชติ,  

ยํ  คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน  ทส  สญฺญา  สุตฺวา,  
โส  อาพาโธ  ฐานโส  ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺย ฯ

กตมา  ทส ฯ อนิจฺจสญฺญา, อนตฺตสญฺญา,  อสุภสญฺญา,
อาทีนวสญฺญา,  ปหานสญฺญา,  วิราคสญฺญา, นิโรธสญฺญา,
สพฺพโลเก  อนภิรตสญฺญา,  สพฺพสงฺขาเรสุ  อนิจฺจสญฺญา,  อานาปานสฺสติ ฯ

          กตมา  จานนฺท  อนิจฺจสญฺญา ฯ
อิธานนฺท ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ฯ
รูปํ  อนิจฺจํ  เวทนา  อนิจฺจา  สญฺญา  อนิจฺจา  สงฺขารา  อนิจฺจา  วิญฺญาณํ  อนิจฺจนฺติ
อิติ  อิเมสุ  ปญฺจสุ  อุปาทานกฺขนฺเธสุ  อนิจฺจานุปสฺสี  วิหรติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  อนิจฺจสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  อนตฺตสญฺญา ฯ
อิธานนฺท ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ฯ
จกฺขุํ  อนตฺตา  รูปํ  อนตฺตา  โสตํ  อนตฺตา  สทฺทา  อนตฺตา  

ฆานํ  อนตฺตา  คนฺธา  อนตฺตา  ชิวฺหา  อนตฺตา  รสา  อนตฺตา  
กาโย  อนตฺตา  โผฏฐพฺพา  อนตฺตา  มโน  อนตฺตา  ธมฺมา  อนตฺตาติ ฯ
อิติ  อิเมสุ  ฉสุ  อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ  อายตเนสุ  อนตฺตานุปสฺสี  วิหรติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  อนตฺตสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  อสุภสญฺญา ฯ
อิธานนฺท  ภิกฺขุ  อิมเมว  กายํ  อุทธํ  ปาทตลา  อโธ  เกสมตฺถกา  ตจปริยนฺตํ
ปูรนฺนานปฺปการสฺส  อสุจิโน  ปจฺจเวกฺขติ  อตฺถิ  อิมสฺมึ  กาเย  เกสา  โลมา  นขา  ทนฺตา  ตโจ,
มํสํ  นฺหารู  อฏฺฐี  อฏฺฐิมิญฺชํ  วกฺกํ,  หทยํ  ยกนํ  กิโลมกํ  ปิหกํ  ปปฺผาสํ,
อนฺตํ  อนฺตคุณํ  อุทริยํ  กรีสํ มตฺถลุงฺคํ, ปิตฺตํ  เสมฺหํ  ปุพฺโพ  โลหิตํ  เสโท  เมโท,
อสฺสุ  วสา  เขโฬ  สิงฺฆาณิกา  ลสิกา  มุตฺตนฺติ
อิติ  อิมสฺมึ  กาเย  อสุภานุปสฺสี  วิหรติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  อสุภสญฺญา

          กตมา  จานนฺท  อาทีนวสญฺญา ฯ
อิธานนฺท ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ฯ 
พหุทุกฺโข  โข  อยํ  กาโย  พหุอาทีนโวติ  

อิติ  อิมสฺมึ  กาเย  วิวิธา  อาพาธา  อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
เสยฺยถีทํ  ฯ จกฺขุโรโค  โสตโรโค  ฆานโรโค  ชิวฺหาโรโค  กายโรโค  

สีสโรโค  กณฺณโรโค มุขโรโค  ทนฺตโรโค  กาโส  สาโส  ปินาโส  
ฑโห  ชโร  กุจฺฉิโรโค  มุจฺฉา  ปกฺขนฺทิกา  สุลา  วิสูจิกา 
กุฏฺฐํ  คณฺฑา  กิลาโส  โสโส  อปมาโร  
ทนฺทุ กณฺฑุ กจฺฉุ รขสา วิตจฺฉิกา
โลหิตํ  ปิตฺตํ  มธุเมโห  อํสา  ปิฬกา  ภคณฺฑลา
ปิตฺตสมุฏฺฐานา  อาพาธา  เสมฺหสมุฏฺฐานา  อาพาธา
วาตสมุฏฺฐานา  อาพาธา สนฺนิปาติกา  อาพาธา
อุตุปริณามชา  อาพาธา  วิสมปริหารชา  อาพาธา
โอปกฺกมิกา  อาพาธา  กมฺมวิปากชา  อาพาธา
สีตํ  อุณฺหํ  ชิฆจฺฉา  ปิปาสา  อุจฺจาโร  ปสฺสาโวติ
อิติ  อิมสฺมึ  กาเย  อาทีนวานุปสฺสี  วิหรติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  อาทีนวสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  ปหานสญฺญา ฯ
อิธานนฺท  ภิกฺขุ  อุปฺปนฺนํ  กามวิตกฺกํ  นาธิวาเสติ  ปชหติ  วิโนเทติ  

พฺยนฺตีกโรติ  อนภาวํ  คเมติ
อุปฺปนฺนํ  พฺยาปาทวิตกฺกํ  นาธิวาเสติ  ปชหติ  วิโนเทติ  

พฺยนฺตีกโรติ  อนภาวํ  คเมติ
อุปฺปนฺนํ  วิหึสาวิตกฺกํ  นาธิวาเสติ  ปชหติ  วิโนเทติ  

พฺยนฺตีกโรติ  อนภาวํ  คเมติ
อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน  ปาปเก  อกุสเล  ธมฺเม  นาธิวาเสติ  ปชหติ  วิโนเทติ  

พฺยนฺตีกโรติ  อนภาวํ  คเมติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  ปหานสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  วิราคสญฺญา ฯ
อิธานนฺท ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ฯ
เอตํ  สนฺตํ  เอตํ  ปณีตํ  ยทิทํ  สพฺพสงฺขารสมโถ  สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
ตณฺหกฺขโย  วิราโค  นิพฺพานนฺติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  วิราคสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  นิโรธสญฺญา ฯ
อิธานนฺท ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ฯ
เอตํ  สนฺตํ  เอตํ  ปณีตํ  ยทิทํ  สพฺพสงฺขารสมโถ  สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
ตณฺหกฺขโย  นิโรโธ  นิพฺพานนฺติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  นิโรธสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  สพฺพโลเก  อนภิรตสญฺญา ฯ
อิธานนฺท  ภิกฺขุ  เย  โลเก  อุปายุปาทานา  เจตโส  อธิฏฺฐานา อภินิเวสานุสยา
เต  ปชหนฺโต  วิรมติ  น  อุปาทิยนฺโต  อยํ  วุจฺจตานนฺท  สพฺพโลเก  อนภิรตสญฺญา

          กตมา  จานนฺท  สพฺพสงฺขาเรสุ  อนิจฺจสญฺญา ฯ
อิธานนฺท  ภิกฺขุ  สพฺพสงฺขาเรหิ  อฏฺฏิยติ  หรายติ  ชิคุจฺฉติ ฯ
อยํ  วุจฺจตานนฺท  สพฺพสงฺขาเรสุ  อนิจฺจสญฺญา ฯ

          กตมา  จานนฺท  อานาปานสฺสติ ฯ
อิธานนฺท  ภิกฺขุ  อรญฺญคโต  วา  รุกฺขมูลคโต  วา  สุญฺญาคารคโต  วา  นิสีทติ
ปลฺลงฺกํ  อาภุชิตฺวา  อุชุํ  กายํ  ปณิธาย  ปริมุขํ  สตึ  อุปฏฺฐเปตฺวา
โส  สโต วา  อสฺสสติ  สโต วา ปสฺสสติ,
ทีฆํ  วา  อสฺสสนฺโต  ทีฆํ  อสฺสสามีติ  ปชานาติ,
ทีฆํ  วา  ปสฺสสนฺโต  ทีฆํ  ปสฺสสามีติ  ปชานาติ,
รสฺสํ  วา  อสฺสสนฺโต  รสฺสํ  อสฺสสามีติ  ปชานาติ,
รสฺสํ  วา  ปสฺสสนฺโต  รสฺสํ  ปสฺสสามีติ  ปชานาติ,

สพฺพกายปฏิสํเวที  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
สพฺพกายปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปสฺสมฺภยํ  กายสงฺขารํ  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปสฺสมฺภยํ  กายสงฺขารํ  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปีติปฏิสํเวที  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปีติปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
สุขปฏิสํเวที  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
สุขปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,

จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปสฺสมฺภยํ  จิตฺตสงฺขารํ  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปสฺสมฺภยํ  จิตฺตสงฺขารํ  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
จิตฺตปฏิสํเวที  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
จิตฺตปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
อภิปฺปโมทยํ  จิตฺตํ  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,

สมาทหํ  จิตฺตํ  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
สมาทหํ  จิตฺตํ  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
วิโมจยํ  จิตฺตํ  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
วิโมจยํ  จิตฺตํ  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
อนิจฺจานุปสฺสี  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
อนิจฺจานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,

วิราคานุปสฺสี  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
วิราคานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
นิโรธานุปสฺสี  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
นิโรธานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี  อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ,

อยํ  วุจฺจตานนฺท  อานาปานสฺสติ   สเจ  โข  ตฺวํ  อานนฺท,
คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน  อิมา  ทส  สญฺญา  สุตฺวา  ภาเสยฺยาสิ,
ฐานํ โข  ปเนตํ  วิชฺชติ,  ยํ  คิริมานนฺทสฺส ภิกขุโน  อิมา ทส  สญฺญา  สุตฺวา
โส  อาพาโธ  ฐานโส  ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺยาติ

อถ  โข  อายสฺมา  อานนฺโท,  ภควโต  สนฺติเก  อิมา  ทส  สญฺญา  อุคฺคเหตฺวา,
เยนายสฺมา  คิริมานนฺโท,  เตนุปสงฺกมิ,  อุปสงฺกมิตฺวา  อายสฺมโต  คิริมานนฺทสฺส
อิมา  ทส  สญฺญา  อภาสิ ฯ 

อถ  โข  อายสฺมโต  คิริมานนฺทสฺส  อิมา  ทส  สญฺญา  สุตฺวา,
โส  อาพาโธ  ฐานโส  ปฏิปฺปสฺสมฺภิ, วุฏฺฐหิ  จายสฺมา  คิริมานนฺโท
ตมฺหา  อาพาธา  ตถา  ปหีโน  จ  ปนายสฺมโต  คิริมานนฺทสฺส  โส  อาพาโธ  อโหสีติ.




คิริมานนทสูตร แปล
===============

    เอวมฺเม สุตํ         ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
 เอกํ สมยํ ภควา           สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค
 สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน      ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร  ซึ่งเป็น
 อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม      อารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ณ
                กรุงสาวัตถี
 เตน โข  ปน สมเยน อายสฺมา  คิริมานนฺโท      ก็สมัยนั้นพระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
 อาพาธิโก  โหติ  ทุกฺขิโต      เป็นผู้อาพาธ เป็นผู้ถึงทุกข์
 พาฬฺหคิลาโน         เป็นไข้หนัก
 อถ  โข  อายสฺมา  อานนฺโท   ลำดับนั้นพระอานนท์ผู้มีอายุ
 เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ      พระผู้มีพระภาคเสด็จอยู่ในที่ใด  ก็
                เข้าไปเฝ้าในที่นั้น
 อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ      ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว  จึงถวายบังคม
 อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ  นิสีทิ   พระผู้มีพระภาคนั่ง ณ  ที่ควรส่วน
                ข้างหนึ่ง

 เอกมนฺตํ  นิสินฺโน  โข      เมื่อพระอานนท์ผู้มีอายุนั่ง  ณ  ที่
 อายสฺมา  อานนฺโท  ภควนฺตํ   ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว  ได้กราบทูล
 เอตทโวจ            พระผู้มีพระภาคว่า
 อายสฺมา  ภนฺเต  คิริมานนฺโท   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระคิริ-
                มานนท์ผู้มีอายุ
 อาพาธิโก  ทุกฺขิโต      เป็นผู้อาพาธ  เป็นผู้ถึงทุกข์
 พาฬฺหคิลาโน         เป็นไข้หนัก
 สาธุ  ภนฺเต ภควา         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ดีแล้ว  ขอ
                เชิญพระผู้มีพระภาค
 เยนายสฺมา  คิริมานนฺโท      พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ  อยู่ในที่ใด
 เตนุปสงฺกมตุ  อนุกมฺปํ อุปาทายาติ     จงทรงอาศัยพระกรุณาเสด็จไปที่นั้นดังนี้
            [พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า]
 สเจ  โข  ตฺวํ  อานนฺท      ดูก่อนอานนท์  ถ้าว่าเธอ
 คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน      พึงไปหาแล้วแสดงสัญญา ๑๐  ประ
 อุปสงฺกมิตฺวา  ทส  สญฺญา      การแก่ภิกษุคิริมานนท์ไซร้
 ภาเสยฺยาสิ
 ฐานํ  โข  ปเนตํ  วิชฺชติ ยํ      ข้อนี้เป็นเหตุที่จะให้อาพาธ [ความ
 คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน  ทส   เจ็บ]  ของคิริมานนท์ภิกษุผู้นั้น
 สญฺญา  สุตฺวา  โส  อาพาโธ   สงบระงับโดยเร็วพลัน  เพราะ
 ฐานโส  ปฏิปสฺสมฺเภยฺย      ได้ฟังสัญญา ๑๐

 กตมา  ทส            สัญญา  ๑๐  อะไรบ้าง
 อนิจฺจสญฺญา            ความจำหมายว่าไม่เที่ยง ๑
 อนตฺตสญฺญา            ความจำหมายว่าไม่ใช่ตัวตน ๑
 อสุภสญฺญา            ความจำหมายว่าไม่งาม ๑
 อาทีนวสญฺญา         ความจำหมายว่าเป็นโทษ ๑
 ปหานสญฺญา            ความจำหมายในการละ ๑
 วิราคสญฺญา            ความจำหมายในธรรมอันปราศจากราคะ ๑
 นิโรธสญฺญา            ความจำหมายในธรรมเป็นที่ดับ ๑
 สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา      ความจำหมายความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑
 สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญา   ความจำหมายความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง ๑
 อานาปานสฺสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก ๑

    ๑.  กตมา  จานนฺท อนิจฺจสญฺญา     ดูก่อนอานนท์  อนิจจสัญญาเป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 อรญฺญคโต  วา         ไปสู่ป่าก็ตาม
 รุกฺขมูลคโต วา         ไปสู่โคนไม้ก็ตาม
 สุญฺญาคารคโต  วา         ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม
 อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ         ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
 รูปํ  อนิจฺจํ            รูปไม่เที่ยง
 เวทนา  อนิจฺจา         เวทนาไม่เที่ยง
 สญฺญา  อนิจฺจา         สัญญาไม่เที่ยง
 วิญฺญาณํ  อนิจฺจนฺติ       สังขารไม่เที่ยง ดังนี้

 อิติ  อิเมสุ  ปญฺจสุ อุปาทานกฺ-   ย่อมเป็นผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ  โดย
 ขนฺเธสุ  อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ   ความไม่เที่ยง  ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕  อย่าง
 อยํ  วุจฺจตานนฺท  อนิจฺจสญฺญา   ดูก่อนอานนท์ นี้  [เรา]  กล่าวว่า  อนิจจสัญญา.

    ๒.  กตมา  จารนนฺท อนตฺตสญฺญา   ดูก่อนอานนท์  อนัตตสัญญาเป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 อรญฺญคโต  วา         ไม่ที่ป่าก็ตาม
 รุกฺขมูลคโต  วา         ไม่ที่เรือนว่างเปล่าก็ตาม
 อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ         ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
 จกฺขุํ  อนตฺตา         ตาไม่ใช่ตัวตน
 รูปํ  อนตฺตา            รูปไม่ใช่ตัวตน

 โสตํ  อนตฺตา         หูไม่ใช่ตัวตน
 สทฺทา  อนตฺตา         เสียงไม่ใช่ตัวตน
 ฆานํ  อนตฺตา         จมูกไม่ใช่ตัวตน
 คนฺธา  อนตฺตา         กลิ่นไม่ใช่ตัวรน
 ชิวฺหา  อนตฺตา         ลิ้นไม่ใช่ตัวตน
 รสา  อนตฺตา            รสไม่ใช่ตัวตน
 กาโย  อนตฺตา         กายไม่ใช่ตัวตน
 โผฏฺฐพฺพา อนตฺตา         สิ่งที่พึงถูกต้องได้ด้วยกายไม่ใช่ตัวตน
 มโน  อนตฺตา         ใจไม่ใช่ตัวตน
 ธมฺมา อนตฺตาติ         เรื่องที่รู้ได้ด้วยใจไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
 อิติ อิเมสุ ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ   ย่อมเป็นผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ โดย
 อายตเนสุ อนตฺตานุปสฺสี วิหรติ   ความไม่ใช่ตัวตน  ในอายตนะทั้งภายในและภายนอก ๖  อย่างนี้
 อยํ  วุจฺจตานนฺท  อนตฺตสญฺญา     ดูก่อนอานนท์  นี้  [เรา]  กล่าวว่า  อนัตตสัญญา.

    ๓.  กตมา  จานนฺท  อสุภสญฺญา     ดูก่อนอานนท์  อสุภสัญญาเป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 อิมเมว  กายํ  อุทฺธํ  ปาทตลา      ย่อมพิจารณากายนี้แล  ข้างบน
 อโธ  เกสมตฺถกา  ตจปริยนฺตํ     แต่พื้นเท้าขึ้นไป  ข้างล่างแต่ปลาย
 ปูรนฺนานปฺปการสฺส  อสุจิโน      ผมลงมา  มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
 ปจฺจเวกฺขติ                เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า
 อตฺถิ  อิมสฺมึ  กาเย         มีอยู่ในกายนี้

 เกสา               ผมทั้งหลาย
 โลมา               ขนทั้งหลาย
 นขา               เล็บทั้งหลาย
 ทนฺตา              ฟันทั้งหลาย
 ตโจ                หนัง

 มํสํ                เนื้อ
 นฺหารู              เอ็นทั้งหลาย
 อฏฺฐี               กระดูกทั้งหลาย
 อฏฺฐิมิญฺชํ           เยื่อในกระดูก
 วกฺกํ               ไต

 หทยํ              หัวใจ
 ยกนํ              ตับ
 กิโลมกํ            พังผืด
 ปิหกํ              ม้าม
 ปปฺผาสํ            ปอด

 อนฺตํ               ไส้ใหญ่
 อนฺตคุณํ            ไส้ทบ
 อุทริยํ              อาหารใหม่
 กรีสํ               อาการเก่า
 มตฺถลุงฺคํ           มันสมอง

 ปิตฺตํ               น้ำดี
 เสมฺหํ              น้ำเสลด
 ปุพฺโพ              น้ำเหลือง
 โลหิตํ               น้ำเลือด
 เสโท               น้ำเหงื่อ
 เมโท               น้ำมันข้น

 อสฺสุ               น้ำตา
 วสา               น้ำมันเหลว
 เขโฬ              น้ำลาย
 สิงฺฆาณิกา          น้ำมูก
 ลสิกา              น้ำไขข้อ
 มุตฺตนฺติ            น้ำมูตร ดังนี้
 อิติ อิมสฺมึ กาเย อสุภานุปสฺสี   ย่อมเป็นผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ  โดย
 วิหรติ               ความเป็นของไม่งามในกายนี้ อย่างนี้
 อยํ วุจฺจตานนฺท  อสุภสญฺญา   ดูก่อน  อานนท์  นี้  [เรา] กล่าวว่า  อสุภสัญญา.

    ๔.  กตมา จานนฺท อาทีนวสญฺญา      ดูก่อนอานนท์ อาทีนวสัญญาเป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 อรญฺญโตโต วา         ไปสู่ป่าก็ตาม
 รุกฺขมูลคโต วา         ไปสู่โคนไม้ก็ตาม
 สุญฺญาคารคโต วา         ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม
 อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ         ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
 พหุทุกฺโข โข อยํ กาโย      กายนี้แลมีทุกข์มาก
 พหุอาทีนโวติ            มีโทษมาก ดังนี้
 อิติ  อิมสฺมึ  กาเย  วิวิธา      เหล่าอาพาธ [ความเจ็บไข้]  ต่าง ๆ
 อาพาธา  อุปฺปชฺชนฺติ      ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้  อย่างนี้

 เสยฺยถีทํ            อาพาธเหล่านั้น  คืออะไรบ้าง
 จกฺขุโรโค            คือ  โรคตา
 โสตโรโค            โรคหู
 ฆานโรโค            โรคจมูก
 ชิวฺหาโรโค            โรคลิ้น
 กายโรโค            โรคกาย
 สีสโรโค            โรคศีรษะ
 กณฺณโรโค            โรคหู
 มุขโรโค            โรคปาก
 ทนฺตโรโค            โรคฟัน

 กาโส         ไอ
 สาโส         หืด
 ปินาโส      หวัด
 ฑโห         ไข้พิษ
 ชโร         ไข้เชื่อม
 กุจฺฉิโรโค      โรคท้อง
 มุจฺฉา         ลมจับ [หรือสลบ หรือสวิงสวาย]
 ปกฺขนฺทิกา      โรคบิด [หรือ อุจจารธาตุ]
 สุลา         จุกเสียด [หรือตะคริว]
 วิสูจิกา      โรคลงราก
 กุฏฺฐํ         โรคเรื้อน
 คณฺฑา      ฝีทั้งหลาย
 กิลาโส      โรคกลาก
 โสโส         มองคร่อ
 อปมาโร      ลมบ้าหมู
 ทณฺฑุ         หิดเปื่อย
 กณฺฑุ         หิดด้าน
 กจฺฉุ         คุดทะราดหูด
 รขสา         ละลอก
 วิตจฺฉิกา      คุดทะราดบอน
 โลหิตํ         อาเจียนโลหิต (หรือโรคที่เกี่ยวกับเลือด)

 ปิตฺตํ            โรคดีเดือด
 มธุเมโห         โรคปัสสาวะหวาน
 อํสา            เริม
 ปีฬกา            พุพอง
 ภคณฺฑลา         ริดสีดวง
 ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา   ความเจ็บ  มีดีเป็นสมุฏฐาน
 เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา   ความเจ็บมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
 วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา   ความเจ็บมีลมเป็นสมุฏฐาน
 สนฺนิปาติกา อาพาธา      ไข้สันนิบาต [คือความเจ็บที่เกิด
             แต่ดีเสมหะและลมทั้ง ๓ เจือกัน]
 อุตุปริณามชา อาพาธา   ความเจ็บเกิดแก่ฤดูแปรปรวน
 วิสมปริหารชา อาพาธา   ความเจ็บเกิดแต่ความผลัดเปลี่ยน
             อิริยาบถไม่สม่ำเสมอ
 โอปกฺกมิกา อาพาธา   ความเจ็บเกิดแต่ความเพียรกล้า
 กมฺมวิปากชา อาพาธา   ความเจ็บเกิดแก่วิบากของกรรม
 สีตํ            เย็น
 อุณฺหํ           ร้อน
 ชิฆจฺฉา         หิวข้าว
 ปิปาสา         ระหายน้ำ

 อุจฺจาโร        อุจจาระ
 ปสฺสาโวติ        ปัสสาวะ ดังนี้
 อิติ อิมสฺมึ กาเย อาทีนวานุปสฺสี   ย่อมเป็นผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ โดย
 วิหรติ               ความเป็นโทษในกายนี้ อย่างนี้
 อยํ วุจฺจตานนฺท อาทีนวสญฺญา   ดูก่อนอานนท์ นี้ [เรา] กล่าวว่า  อาทีนวสัญญา.
    ๕.  กตมา จานนฺท ปหานสญฺญา      ดูก่อนอานนท์ ปหานสัญญาเป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ   ย่อมไม่รับไว้  ย่อมสละเสีย  ย่อม
 ปชหติ วิโนเทติ พฺยนฺตีกโรติ   ถ่ายถอน ย่อมทำให้พินาศ ย่อม
 อนภาวํ คเมติ         ทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป  ซึ่งกามวิตก
                [ความตรึกด้วยความกำหนัดยินดี
                ในกามารมณ์] ที่เกิดขึ้นแล้ว
 อุปฺปนฺนํ พฺยาปาทวิตกฺกํ      ย่อมไม่รับไว้  ย่อมละเสีย ย่อม
 นาธิวาเสติ ปชหติ วิโนเทติ   ถ่ายถอน ย่อมทำให้พินาศ ย่อม
 พฺยนฺตีกโรติ อนภาวํ คเมติ      ทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป  ซึ่งพยาบาท
                วิตก  [ความตรึกในความล้างผลาญ
                สัตว์] ที่เกิดขึ้นแล้ว

 อุปฺปนฺนํ  วิหึสาวิตกฺกํ  นาธิวาเสติ   ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละเสีย ย่อม
 ปชหติ วิโนเทติ พฺยนฺตีกโตติ      ถ่ายถอน  ย่อมทำให้พินาศ  ย่อมทำ
 อนภาวํ คเมติ            ไม่ให้เกิดอีกต่อไป  ซึ่งวิหิงสาวิตก
                   ความตรึกด้วยความหลงสนุก
                   เพลิดเพลินในความเบียดเบียน
                   สัตว์  ที่เกิดขึ้นแล้ว
 อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก         ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละเสีย  ย่อม
 อกุสเล ธมฺเม นาธิวเสติ         ถ่ายถอน ย่อมทำให้พินาศ ย่อม
 ปชหติ วิโนเทติ  พฺยนฺตีกโรติ      ทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป  ซึ่งเหล่า
 อนภาวํ  คเมติ            ธรรมอันเป็นบาปเป็นอกุศลที่เกิด
                   ขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว
 อยํ วุจฺจตานนฺท  ปหานสญฺญา      ดูก่อนอานนท์  นี้ [เรา] กล่าวว่า ปหานสัญญา.
    ๖.  กตมา จานนฺท วิราคสญฺญา         ดูก่อนอานนท์  วิราคสัญญาเป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ            ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 รุกฺขมูลคโต วา            ไปสู่ป่าก็ตาม
 สุญฺญาคารคโต วา          ไปสู่โคนไม้เปล่าก็ตาม
 อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ          ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
 เอตํ  สนฺตํ  เอตํ  ปณีตํ     ธรรมชาตินั้นละเอียด  ธรรมชาตินั้นประณีต

 ยทิทํ               ธรรมชาตินั้น คืออะไร
 สพฺพสงฺขารสมโถ         คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
 สพฺพุปธิปฏินิสฺสคฺโค      เป็นที่ส่งคืนอุปธิทั้งปวง
 ตณฺหกฺขโย            เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
 วิราโค            เป็นที่สำรอกกิเลสเป็นเครื่องย้อมจิต
 นิพฺพานํ            เป็นที่ดับกิเลสและทุกข์
 อยํ วุจฺจตานนฺท วิราคสญฺญา   ดูก่อนอานนท์ อันนั้น [เรา]  กล่าวว่า  วิราคสัญญา.

    ๗.  กตมา จานนฺท      ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญา เป็น
 นิโรธสญฺญา            ไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 อรญฺญคโต  วา         ไปสู่ป่าก็ตาม
 รุกฺขมูลคโต วา         ไปสู่โคนไม้ก็ตาม
 สุญฺญาคารคโต วา         ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม
 อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ         ย่อมพิจารณาอย่างนี้
 เอตํ  สนฺตํ เอตํ ปณีตํ      ธรรมชาตินั้นละเอียด  ธรรมชาตินั้นประณีต

 ยทิทํ               ธรรมชาตินั้น คืออะไร
 สพฺพสงฺขารสมโถ         คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

 สพฺพุปธิปฏินิสฺสคฺโค      เป็นที่ส่งคืนอุปธิ (กิเลสเครื่องยึดเหนี่ยว) ทั้งปวง  
 ตณฺหกฺขโย            เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
 นิโรโธ            เป็นที่ดับทุกข์สนิท
 นิพฺพานํ            เป็นที่ดับกิเลสและทุกข์
 อยํ  วุจฺจตานนฺท นิโรธสญฺญา   ดูก่อนอานนท์  นี้  [เรา] กล่าวว่า  นิโรธสัญญา.

    ๘.  กตมา  จานนฺท      ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเกอนภิรต-
 สพฺพโลเก  อนภิรตสญฺญา      สัญญา  เป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 เย  โลเก  อุปายุปาทานา        อุบาย๑เป็นเหตุถือมั่นเหล่าใดในโลก
 เจตโส อธิฏฺฐานาภินิเวสานุสยา   มีความถือมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัย
 เต  ปชหนฺโต  วิรมติ  น      ละอุบายเป็นเหตุถือมั่นเหล่านั้น
 อุปาทิยนฺโต            เสียไม่ถือมั่น  ย่อมงดเว้นเสีย
 อยํ  วุจฺจตานนฺท สพฺพโลเก   ดูก่อนอานนท์ นี้  [เรา]
 อนภิรตสญฺญา         กล่าวว่า  สัพพโลเกอนภิรตสัญญา.

    ๙.  กตมา จานนฺท      ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ-
 สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญา   อนิจจสัญญา  เป็นไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

@๑.  ตามนัยอรรถกถาแห่งหนึ่งว่า  ความพัวพันและความถือมั่น  เหล่าใดในโลก  ซึ่งเป็นความ
ตั้งใจยึดไว้และนอนเนื่องของจิต.

 สพฺพสงฺขาเรหิ อฏฺฏิยติ      ย่อมเบื่อหน่าย  ย่อมระอา  ย่อม
 หรายติ  ชิคุจฺฉติ         เกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง
 อยํ วุจฺจตานนฺท         ดูก่อนอานนท์ นี้  [เรา]  กล่าว
 สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญา   ว่า  สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา.

    ๑๐. กตมา  จานนฺท      ดูก่อนอานนท์ อานาปานสติ  เป็น
 อานาปานสฺสติ         ไฉนเล่า
 อิธานนฺท  ภิกฺขุ         ดูก่อนอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 อรญฺญคโต  วา         ไปสู่ป่าก็ตาม
 รุกฺขมูลคโต วา         ไปสู่โคนไม้ก็ตาม
 สุญฺญาคารคโต วา         ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม
 นิสีทติ  ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา      นั่งคู้บัลลังก์  [คือขัดสมาธิ]
 อุชุํ  กายํ ปณิธาย ปริมุขํ      ตั้งกายให้ตรง  ดำรงสติไว้มั่น
 สตึ  อุปฏฺฐเปตฺวา         เฉพาะหน้า
 โส  สโต วา  อสฺสสติ         เธอย่อมมีสติหายใจออกหรือ
 สโต วา ปสฺสสติ         หรือว่า ย่อมมีสติหายใจเข้า.

    ที่ ๑. ฑีฆํ วา อสฺสสนฺโต   หรือเมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่า
 ทีฆํ  อสฺสสามีติ ปชานาติ      บัดนี้เราหายใจออกยาว
 ทีฆํ  วา  ปสฺสสนฺโต  ทีฆํ      หรือเมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า
 ปสฺสสามีตี  ปชานาติ      เราหายใจเข้ายาว  [นี่เป็นหมวดที่ ๑]

 รสฺสํ  วา  อสฺสสนฺโต  รสฺสํ   หรือเมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า
 อสฺสสามีติ  ปชานาติ      เราหายใจออกสั้น
 รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ      หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่าเรา
 ปสฺสสามีติ  ปชานาติ      หายใจเข้าสั้น  [นี่เป็นหมวดที่ ๒]

 สพฺพกายปฏิสํเวที         ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      กำหนดรู้กายทั้งหมดหายใจออก
 สพฺพกายปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺ-   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สามีติ  สิกฺขติ         กำหนดรู้กายทั้งหมดหายใจเข้า
                [นี่เป็นหมวดที่ ๓]

 ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺ-   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สามีติ  สิกฺขติ         ระงับกายสังขารหายใจออก
 ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      ระงับกายสังขาร หายใจเข้า  [นี่เป็น
                หมวดที่ ๔]  ใน  ๔  หมวดนี้กล่าว
                ด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพราะ
                ลมหายใจเป็นส่วนกาย.
    ที่ ๒.  ปีติปฏิสํเวที      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ      กำหนดรู้ปีติ  [คือความอิ่มกาย
                อิ่มใจ]  หายใจออก

 ปีติปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สิกฺขติ               กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า [ใน ๒
                ข้อนี้  ประสงค์ผู้ที่ได้ปฐมฌาน
                ทุติยฌานซึ่งประกอบด้วยปีติ  นี่เป็น
                หมวดที่ ๕]
 สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสมีติ      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สิกฺขติ               กำหนดรู้สุข  [คือความสุขกาย
                สุขจิต]  หายใจออก
 สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สิกฺขติ               กำหนดรู้สุข  หายใจเข้า  [ใน ๒  ข้อนี้
                ประสงค์ผู้ที่ได้ปฐมฌาน  ทุติยฌาน
                ตติยฌาน  ซึ่งประกอบด้วยสุข
                นี่เป็นหมวดที่ ๖]
 จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก
 จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า  [นี่
                เป็นหมวดที่  ๗]
 ปสฺสมฺภยํ  จิตฺตสงฺขารํ      ย่อสำเหนียกว่า  เราจักระงับ
 อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ      จิตตสังขารหายใจออก

 ปสฺสมฺภยํ  จิตฺตสงฺขารํ      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักระงับ
 ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ      จิตตสังขาร  หายใจเข้า  [นี่เป็น
                หมวดที่ ๘]  ตั้งแต่หมวดที่ ๕
                ถึงหมวดที่ ๘  สี่หมวดนี้  กล่าวด้วย
                เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  เพราะ
                ปีติสุขเป็นส่วนเวทนา.
    ที่ ๓. จิตฺตปฏิสํเวที      ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ      กำหนดรู้จิต  หายใจออก
 จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สิกฺขติ               กำหนดรู้จิต  หายใจเข้า  [นี่เป็น
                หมวดที่ ๙]
 อภิปฺปโมทยํ  จิตฺตํ         ย่อมสำเหนียกว่า   เราจักทำจิตให้
 ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      บันเทิง หายใจเข้า  [ใน ๒  ข้อนี้
                ประสงค์ความบันเทิงจิตด้วยอำนาจ
                สมถะ  นี่เป็นหมวดที่ ๑๐]
 สมาทหํ  จิตฺตํ  อสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักตั้งจิตเป็น
 สิกฺขติ               สมาธิ  หายใจออก

 สมาทหํ  จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักตั้งจิตเป็น
 สิกฺขติ               สมาธิ  หายใจเข้า  [ใน ๒  ข้อนี้
                ประสงค์จิตที่เป็นสมาธิ  ด้วยอำนาจ
                ฌาน  นี่เป็นหมวดที่ ๑๑]
 วิโมจยํ  จิตฺตํ  อสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเปลื้องจิต
 สิกฺขติ               หายใจออก
 วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเปลื้องจิต
 สิกฺขติ               หายใจเข้า [ใน ๒  ข้อนี้ประสงค์
                ความเปลื้องจิตจากนีวรณ์  วิตก
                วิจาร  ปีติ และสุขด้วยอำนาจฌาน
                นั้น ๆ  นี่เป็นหมวดที่ ๑๒]  ตั้ง
                แต่หมวดที่ ๙  ถึงหมวดที่ ๑๒  สี่
                หมวดนี่กล่าวด้วยจิตตานุปัสสนา
                สติปัฏฐาน  ตั้งแต่หมวดที่ ๑  ถึง
                หมวดที่ ๑๒  นี้ว่าด้วยสมถะ.
    ที่ ๔. อนิจฺจานุปสฺสี   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักพิจารณา
 อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      เนือง ๆ  ซึ่งความเป็นของไม่เที่ยง
                ของนามรูป  หายใจออก

 อนิจฺจานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักพิจารณา
 สิกฺขติ               เนือง   ซึ่งความเป็นของไม่เที่ยง
                ของนามรูป  หายใจเข้า  [นี่เป็น
                หมวดที่ ๑๓]
 วิราคานุปสฺสี  อสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักพิจารณา
 สิกฺขติ               เนือง  ๆ  ซึ่งความจางไป  คลาย
                ไปของนามรูป  หายใจออก.
 วิราคานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักพิจารณา
 สิกฺขติ               เนือง ๆ  ซึ่งความจางไป  คลาย
                ไปของนามรูป  หายใจเข้า [นี่
                เป็นหมวดที่ ๑๔]
 นิโรธานุปสฺสี  อสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สิกฺขติ               พิจารณาเนือง ๆ  ซึ่งความดับไป
                ของนางรูป  หายใจออก.
 นิโรธานุปสฺสี  ปสฺสสิสฺสามีติ   ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 สิกฺขติ               พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งความดับไป
                ของนามรูป  หายใจเข้า  [นี่เป็น
                หมวดที่ ๑๕]
 ปฏินิสิสคฺคานุปสฺสี         ย่อมสำเหนียกว่า   เราจักเป็นผู้
 อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      พิจารณาเนือง ๆ  ซึ่งความส่งคืน
                ความถือมั่นในนามรูป  หายใจออก


 ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี         ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้
 ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ      พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งความส่งคืน
                ความถือมั่นในนามรูป  หายใจเข้า
                [นี่เป็นหมวดที่ ๑๖]  ตั้งแต่หมวด
                ที่ ๑๓  ถึงหมวดที่ ๑๖  สี่หมวดนี้
                กล่าวด้วยธัมมานุปัสสนาสติปัฏ-
                ฐาน  เพราะนามรูปเป็นธัมมารมณ์
                นี่ว่าด้วยวิปัสสนา.
 อยํ  วุจฺจตานนฺท         ดูก่อนอานนท์  นี้  [เรา]  กล่าว
 อานาปานสฺสติ         ว่า  อานาปานสติ.

    สเจ  โข  ตฺวํ  อานนฺท   ดูก่อนอานนท์  ถ้าว่าเธอ
 คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน      พึงไปหาแล้วแสดงสัญญา ๑๐  ประ-
 อุปสงฺกมิตฺวา  อิมา  ทส      การเหล่านี้แก่ภิกษุคิริมานนท์ไซร้.
 สญฺญา  ภาเสยฺยาสิ
 ฐานํ  โข ปเนตํ  วิชฺชติ  ยํ      ข้อนี้เป็นเหตุที่จะให้อาพาธ  [ความ
 คิริมานนฺทสฺส  ภิกฺขุโน  อิมา   เจ็บ]  ของคิริมานนท์ภิกษุนั้นสงบ
 ทส  สญฺญา  สุตฺวา  โส อาพาโธ   ระงับโดยเร็วพลัน  เพราะได้ฟัง
 ฐานโส  ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺย      สัญญา  ๑๐  ประการเหล่านี้.
 อถ  โข  อายสฺมา  อานนฺโท   ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ
 ภควโต  สนฺติเก อิมา  ทส      เรียนสัญญา  ๑๐  ประการเหล่านี้ใน
 สญฺญา  อุคฺคเหตฺวา         สำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว

 เยนายสฺมา  คิริมานนฺโท      เข้าไปหาพระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
 เตนุปสงฺกมิ
 อุปสงฺกมิตฺวา  อายสฺมโต      ครั้นเข้าไปหาแล้ว  ได้แสดงสัญญา
 คิริมานนฺทสฺส  อิมา  ทส      ๑๐  ประการเหล่านี้แก่พระ  คิริมา-
 สญฺญา  อภาสิ         นนท์ผู้มีอายุ.
 อถ  โข  อายสฺมโต     ลำดับนั้น  อาพาธ  [ความเจ็บ]
 คิริมานนฺทสฺส อิมา ทส สญฺญา      ของพระคิริมานนท์ผู้มีอายุนั้น  ก็
 สุตฺวา  โส  อาพาโธ ฐานโส   สงบระงับไปในทันใด  เพราะได้
 ปฏิปฺปสฺสมฺภิ         ฟังสัญญา ๑๐  ประการเหล่านี้.
 วุฏฺฐหิ  จายสฺมา คิริมานนฺโท   พระคิริมานนท์ผู้มีอายุก็หาย
 ตมฺหา  อาพาธา         จากอาพาธนั้น.
 ตถาปหีโน จ  ปนายสฺมโต      ก็แลอาพาธนั้นเป็นอันพระคิริมา-
 คิริมานนฺทสฺส  โส  อาพาโธ    นนท์ผู้มีอายุได้ละเสียแล้ว  ด้วย
 อโหสีติ.            ประการที่ได้ฟังสัญญา ๑๐  ประการ
                ที่พระอานนท์แสดงแล้วนั้น  ด้วย
                ประการฉะนี้แล.
                             [คิริมานนฺทสุตฺตปาโฐ นิฏฺฐิโต]
                             จบพระบาลีคิริมานนทสูตร.


คลิกที่ลิงค์ได้เลย http://www.thammasatu.net/audio/01kirimanon.wma
  

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พุทธศาสนานี้มีมาเพื่อสิ่งใด และเกิดจากอะไรเป็นเหตุ


ดูก่อนท่านผู้ชื่อว่าเป็นพุทธบริษัททั้งหลาย   การที่มีพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาได้นั้นในที่นี้จัดว่าเป็นสิ่งที่ยาก เพราะกว่าพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะได้เสด็จมาตรัสรู้ได้เป็นการยากและไม่ ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะไม่รู้ว่าแต่ละพระองค์จะได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีนั้นให้ เต็มบริบูรณ์ได้ ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนจึงจะได้มาซึ่งการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  และนับไม่ได้ด้วยว่านานกี่กัปป์กี่กัลป์ที่จะมีมาสักพระองค์หนึ่ง  

ดัง เช่นที่มีในพระไตรปิฎกได้บันทึกไว้  ในที่นี้ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกเถิดว่าแต่ละพระองค์นั้นทรงเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แค่ไหนเพียงใด เพื่อการสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่สัตว์ทั้งหลายเพื่อ ให้หลุดจากวังวนแห่งกองทุกข์ที่มีอยู่นี้  แล้วเหตุใดหนอท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นคุณค่าของพระศาสนาที่ว่าเป็นหลักยึด เหนี่ยวจิตใจของตนนี้กันเลย  เพราะนั่นเกิดจากอะไรเกิดจากความไม่รู้อย่างนั้นหรือ

อาตมาเห็นว่า ไม่น่าจะใช่ เพราะท่านที่รู้นั้นมีอยู่แต่ที่ขาดไปนั้นน่าจะเป็นความไม่ใส่ใจมากกว่าไหม เพราะถ้าใส่ใจกันจริงๆ แล้วคงไม่เอนหน้าเอนหลังส่ายไปส่ายมากันอย่างทุกวันนี้เป็นแน่  พึงพิจารณาดูเถิด เพราะในปัจจุบันนี้ก็เหลือน้อยเต็มทีแล้วที่จะมีผู้ศึกษาและผู้รู้ในเรื่อง พระศาสนานี้อย่างแท้จริงและที่ปฏิบัติอย่างจริงจังก็หาไม่ค่อยจะมีแล้ว  เพราะนั่นเกิดจากการที่เราไม่เคยที่จะมองเข้ามาดูเลยในเรื่องของพระศาสนา นี้และศึกษาให้เข้าจิตเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ครั้งที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่

ด้วยเหตุนี้อาตมาพึงเห็นว่าใน เรื่องนี้เราควรที่จะมองถึงความเมตตาที่พระองค์ได้ทรงมีแก่พวกเราทั้งหลาย นั้นบ้างจะดีไหม  ด้วยการทำความเห็นในเรื่องต่างๆ ที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้วอย่างถูกต้อง  แต่เรากลับมาทำเสียป่นปี้หมด  แล้วคำที่ว่าจะรักษาพระศาสนานี้ให้ตั้งอยู่ได้นานนั้นจักประสบผลสำเร็จได้ อยู่หรือ

ท่านทั้งหลายพึงพิจารณาเถิดเพราะทุกวันนี้ส่วนมากจะศึกษา เอาแต่เปลือกหาได้ศึกษาให้ถึงแก่นแท้ของพระศาสนาไม่   จึงเป็นไปได้ที่ทุกวันนี้ตามที่พิจารณาเห็น  มักจะกล่าวอะไรที่ผิดจากหลักที่พระองค์วางไว้เสียส่วนใหญ่  เพราะนั่นหมายถึงผู้ไม่รู้จักสรณะที่แท้จริงของตน  จึงได้ไปนำเอาสรณะที่สี่เข้ามาปนเสียหมด  เกิดจากอะไร...

เกิดจาก การที่ปฏิบัติกันแบบเหลาะๆ แหละๆ นั่นอย่างไรละแล้วผลที่หวังมันจักสำเร็จขึ้นมีได้อย่างไร พิจารณาสิท่านทั้งหลาย  เพราะถ้าศึกษากันถึงแก่นจริงๆ แล้ว  อาตมาเชื่อว่าคงไม่มีการทุจริตเกิดขึ้นในพระศาสนานี้อย่างแน่นอนและแน่นอน ที่สุดแม้แต่การโจรกรรมที่เห็นอยู่ก็จักอันตรธานจากสังคมเป็นแน่และแน่นอน ถ้าเราพากันศึกษาให้เข้าถึงแก่นแท้กันได้จริงๆ หรือแม้แต่ผู้ที่อุปสมบทเข้ามาก็หามีไม่ที่จะลาสิกขาอย่างทุกวันนี้ เพราะนั่นเกิดจากสาเหตุที่ไม่ศึกษากันอย่างถ่องแท้และเข้าถึงแก่นแท้ได้ อย่างไรล่ะ จึงได้มีการลาสิกขากันมากมายหรือแม้พระปลอมก็ได้เกิดมีขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเข้าถึงสรณะก็ไม่รู้  เรื่องทาน  ศีล   ภาวนาก็ได้แต่เปลือก เพราะไม่เข้าถึงแก่นของเรื่องนั้นๆ กันอย่างแท้จริง พึงพิจารณาดูเถิด  และที่สำคัญทุกวันนี้ก็เกิดมีมากในเรื่องของการสอนนอกลู่นอกทางจากหลักเดิม ที่พระองค์ได้ทรงประทานไว้ให้  หรือวางไว้ เพราะมีแต่อธรรมวินัยตามใจฉันเสียส่วนมาก   จึงพากันมองข้ามหลักเดิมหรืออรรถธรรมที่พระองค์ได้วางไว้ให้นั้นเสีย หรือศึกษาก็สักแต่ว่าศึกษา เพราะศึกษาแล้วไม่เคยเลยที่จะนำเข้ามาพิจารณาในตนให้มันกระจ่าง  การเผยแผ่จึงเพี้ยนไปมากจากหลักเดิมที่พระองค์ได้วางไว้

ผู้ที่จะเข้ามาศึกษาจึงได้เดินตามทางที่ตนได้วางไว้นั้นแทนที่จะได้เดินตามทางที่พระ ศาสดาทรงวางไว้นั้น  ในเรื่องนี้ให้ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านบทความนี้พึงพิจารณาดูให้ละเอียดเถิด ว่ามันเป็นอย่างนั้นไหมปัจจุบันนี้นะ   อาตมาเห็นว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่เราได้กล่าวว่าอยากจะรักษาซึ่งพระศาสนานี้ ให้ตั้งอยู่ได้นาน  ดังที่เคยได้ยินกันหลายๆ ปากและบ่อยมาก   ควรที่เราท่านทั้งหลายจักศึกษากันอย่างแท้จริง และประพฤติตามแบบฉบับของชาวพุทธกันจริงๆ เสียที  เพราะถ้ายังเป็นอย่างนี้ จักไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่าจะรักษาศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าให้ตั้งอยู่ได้นาน ได้  ย่อมจักมีแต่เสื่อมถอยลงเป็นแน่  ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่   โปรดพิจารณาดูอย่างผู้มีปัญญาเถิด  ว่าจักเป็นไปๆ ได้ด้วยประการใดถ้าเรายังประพฤติผิดลู่ผิดทางจากหลักของพระองค์ที่ทรงวางไว้ ให้นี้อยู่ร่ำไป  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประเพณีต่างๆ ก็ดี การให้ทานรักษาศีลก็ดี หรือแม้แต่การกระทำไปเพื่อการปฏิบัติเพื่อความหลุดความพ้นนั้นก็ดี อย่างที่ทราบกันว่า ในกาลที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น ชาวพุทธบริษัททั้งหลายในกาลนั้น ท่านพากันประพฤติปฏิบัติกันเยี่ยงนี้จริงหรือ  อย่างที่หาสรณะไม่เจอกันอยู่ทุกวันนี้แน่หรือ เพราะถ้าพิจารณาให้ละเอียดแล้ว  อาตมาเองก็เชื่อว่าในกาลนั้นท่านไม่สอนให้ชาวพุทธในกาลนั้นบำเพ็ญบุญปน บาปอย่างทุกวันนี้แน่  และแน่นอนที่สุดการแนะนำในเรื่องปฏิบัติก็คงไม่เอายอดชนปลายเอาปลายชนยอด อย่างทุกวันนี้แน่  

ถ้าเราศึกษาและพิจารณาตามความเห็นที่เป็นจริง แล้วในเรื่องนี้คงจะพอมีปัญญาตามรู้ได้แน่และไม่เกินกำลังเป็นแน่ เพราะถ้าเกินกำลังท่านคงไม่เอามาสอนเพราะมันเกินวิสัยที่จะรู้แต่นี่  ที่พระองค์ได้ทรงวางไว้ให้นั้นพระองค์เห็นแล้วว่า  สิ่งทั้งหลายที่พระองค์ได้วางเอาไว้นั้นพอจะทำให้เกิดมีแก่ผู้ที่ศึกษา อย่างแท้จริงได้อย่างแน่นอนและแน่นอนที่สุด   พระองค์ท่านจึงได้ทรงวางไว้  ไม่ว่าเรื่องของบรรพชิต   หรือคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนนั้นก็ตาม  พึงพิจารณากันดูให้ละเอียดเถิด   คงไม่เกินกำลังที่จะรู้ตามได้เป็นแน่และเพื่อความเป็นพุทธบริษัท  อย่างแท้จริง  ไม่เหลาะแหละหลอกตน  หลอกท่านอย่างที่เป็นหรือเห็นอยู่นี้แน่   ขอจงเป็นไปเพื่อความเข้าใจในความจริงแห่งพระสัทธรรมทั้งหลายนั้นอย่างแจ่มแจ้งเถิด

          
ขอเจริญในธรรมและกุศลทั้งหลายที่ท่านจะพึงกระทำนั้น

                              
ขอเจริญพร
                              
พุทธธรรม
                        
พระไพรศาล   ชิตมาโร 

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความอัศจรรย์ของพระบรมธาตุ

เมื่อวานซืน (คืนวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) ท่านไพร ได้อธิษฐานเรื่องเกี่ยวกับการทำพระเจดีย์ ..หากจะสำเร็จขอให้พระธาตุเสด็จมา

เช้า วันที่ ๑๖ ปรากฏว่า มีพระธาตุองค์ใส สัณฐานกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ มิลลิเมตร เสด็จมาในผอบ ๑ องค์ ที่เพิ่งคัดแยก..ไม่ให้มีเม็ดกลมใส  สุดท้าย เจ้าของห้อง (อาตมาเอง) เลยต้องขอ (ปกติไม่เคยขอพระธาตุกับใคร มีแต่ผู้อื่นนำมาให้ เป็นพระอาจารย์บ้าง โยมบ้าง เพิ่งได้รวบรวมต้นปีนี้เอง

แต่ องค์นี้ ถือว่าเป็นพิเศษ เพราะเสด็จมาที่ห้อง   ก่อนที่องค์สัณฐานกลมจะเสด็จมา ก็มีองค์ที่สัณฐานไม่กลม เสด็จมาจับที่นอกกล่องที่บรรจุเส้นเกษาของท่านไพร ที่ม้วนกลม ..ดังรูป (เกษาท่านไพร , พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระสาวกอรหันต์ทั้งหลาย)


จากลิงค์ http://picasaweb.google.com/chinnawat.p/IVDlNF#5539058716678126322




พระธาตุและพระบรมธาตุ รูปพรรณสัณฐานต่าง ๆ



นำมาจาก http://picasaweb.google.com/chinnawat.p/IVDlNF#5539210535089675410


 
http://thammasatu.com/forum/index.php?topic=9682

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รวมคำกลอนหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต (ฉบับสมบูรณ์) ๑๓


ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
   
วาจาจริง         กายจริง         จิตยิ่งยอด
จิตถ่ายทอด         มองเห็นทาง      อย่างเปิดเผย
จิตสงบ            เป็นนักรบ      น่าชมเชย
เมื่อคุ้นเคย         อยู่ประจำ      ธรรมคุ้มครอง
สัจจธรรม            อุปถัมภ์         ชักนำจิต
ผู้เพียรเพ่ง         พินิจ         จิตผุดผ่อง
ผู้หวัง            ความเจริญ      เชิญทดลอง
เจอะเงินทอง         ภายในตน      ทุกคนเอย

ดับเหตุ  เพื่อเกิดผล
   
เมื่อเรียนจำ     ทำได้จิตเห็นกายในกาย   ก็เห็นธาตุทั้งสี่
   
ได้สมความประสงค์   ตามพระพุทธองค์      ท่านชี้
   
ประสบความสวัสดี      ในชาตินี้      แน่นอน
   
ผู้ประกาศแนะนำ      เมื่อตนยังไม่ได้ทำ      จะไม่นำมาสอน
   
ระคายจิตบางสิ่ง      แต่เป็นของจริง   ทุกตอน
   
ท่านที่ใจร้อน      บางตอน      กระทบจิต
   
พระธรรม         เป็นของตรง   มั่นคงไปทุกบท
   
ท่านผู้ใด         เดินคด      เพราะมีความเห็นผิด
   
มีทั้งขม         มีทั้งหวาน   ไม่มีการปกปิด
   
ท่านผู้ใด         เพ่งพินิจ      รู้ด้วยจิตของตน
   
หลักพิสูจน์สังเกต      เมื่อดับเหตุ   ก็เกิดผล
   
คำสอนพระทศพล      รู้ได้ด้วยตน   แหละท่านเอย

ไฟราคะ
      
เรื่องร่วมเพศ      ไฟราคะ         ทำให้ตาบอด
   
ต้องม้วยมอด         ไม่หลุดพ้น      จากตาข่าย
   
ผู้เชื่อพระ            พิจารณา         ภายในกาย
   
จะหลุดพ้น         จากตาข่าย      ของนายพราน
   
ไฟราคะ            ภายในตน      ของคนเป็น
   
จิตตื่นเต้น         อยู่ใน         วัฏฏสงสาร
   
รสหวานขม         โลกนิยม         มานมนาน
   
กิเลสมาร            ความเห็นผิด      กันจิตใจ
   
ความเห็นถูก         ต้องเป็นลูก      พระตถาคต
   
เพ่งตามพุทธพจน์         จิตหมดสิ้น      ความสงสัย
   
นึกละอาย         คลายกำหนัด      ตัดเชื้อไฟ
   
อยู่ที่ใด            ปราศจากทุกข์      สุขสบาย
   
ไฟกิเลส            อยากร่วมเพศ      เพราะความเขลา
   
จิตมัวเมา            ด้วยตัณหา      ตาไม่เห็น
   
ไฟราคะ            ภายในตน      เผาคนเป็น
ใครมองเห็น         จะประสบ      พบหนทาง


กิเลสตัณหา  เป็นบิดามารดาของคน
   
รู้ธรรมตามตำรา         ไม่พิจารณาเหตุผล
ไม่มีทางจะหลุดพ้น            จากกิเลสตัณหา
มองกิเลสไม่เห็น            เพราะไม่บำเพ็ญภาวนา
เพราะกิเลสตัณหา            เป็นบิดามารดาของคน
หลงอยู่ในตาข่าย            ไม่พบทางมรรคผล
รู้ธรรมไม่ฝึกตน            ไม่หลุดพ้นจากกาม
ไม่เชื่อยอดคำสอน            นอนอยู่บนขวากหนาม
สมณะชีพราหมณ์            ต้องมีความอดทน
คลุมสบงจีวร            นอนอยู่ข้างถนน
ไม่อายประชาชน            จะบวชตนทำไม
ปักกลดอยู่ข้างถนน         เพื่อให้คนเลื่อมใส
สมณะเมืองไทย            สมัยปัจจุบัน

รสของกาม
รสของกาม      เหมือนขวากหนาม         ตำดวงจิต
   
ความเห็นผิด         คนส่วนมาก         ไม่อยากถอน
   
ใจเหิมฮึก            คึกคะนอง            ในกองฟอน(ในกองไฟ)
   
ดั่งกุญชร            ตกปลักตม         จมอบาย
   
สุขนิวรณ์            ใครอยากถอน         ต้องทำตาม(พุทธพจน์)
   
ไม่ตัดกาม         ไม่หลุดพ้น         จากตาข่าย
   
ไฟราคะ            เผาดวงจิต         ปิดทางคลาย
   
ไม่หลุดพ้น         จากตาข่าย         ของนายพราน

ใบลาโลก
   
ขอกราบลา  อุปัชฌาย์  ผู้ประเสริฐ         ผู้ให้กำเนิด  ทางพระพุทธ  ศาสนา
องค์ที่สอง  อาจารย์  กรรมวาจา            ที่เคารพ  บูชา  อย่างอนันต์
ขอกราบลา  ยามพลัดพราก  ไปจากโลก         ถึงคราวโชค  จำต้องพราก  ไปจากขันธ์
ขันธ์เอ๋ยขันธ์  ขอลาพราก  ไปจากกัน            เคยติดพัน  เชยชม  มานมนาน
ขันธ์ใหม่ใหม่  จึงใครใคร  ก็รักใคร่            เมื่ออันตราย  หมดรส  หมดความหวาน
ดังต้นอ้อย  เมื่อหมดเชื้อ  เหลือแต่ชาน            เบื่อสังขาร  เมื่อยามทุกข์  ลุกเป็นไฟ
เบื่อเช่นนี้  จิตย่อมมี  แต่ความเขลา            เบื่อขันธ์เก่า  ยังรักใคร่  อยากได้ใหม่
จิตเป็นทุกข์  มองเห็นขันธ์  นั้นเป็นภัย            ทั้งเก่าใหม่  ขอลาพราก  ไม่อยากครอง
ลาญาติมิตร  เคยถวาย  ให้อาหาร            พร้อมด้วยทาน  กัปปิยภัณฑ์  กันทั้งสอง
ลาคนจน  คนมี  ญาติพี่น้อง               ลาข้าวกล้อง  เขาบูชา  ศรัทธาจริง
ผู้ถวาย  ข้าวกล้อง  น้องร่วมไส้            ไม่ใช่ผู้ชาย  เกิดร่วมท้อง  น้องผู้หญิง
สี่พี่น้อง  เคยห่วงข้อง  ไม่ทอดทิ้ง            ตลอดผู้หญิง  คนสุดท้อง  ต้องขอลา
ลาบุตรา  บุตรี  นี้ทั้งสอง               ขอฝากน้อง  ไว้ด้วย  ช่วยรักษา
หลานเอ๋ยหลาน  ช่วยพยาบาล  แก่คุณอา         หลวงปู่ลา  ไปจากโลก  หวังโชคดี
ลาผู้ถวาย  ยารักษาโรค               จงประสบโชค  ปราศจากทุกข์  เป็นสุขี
ชื่อศรัทธา  ใจศรัทธา  ปัญญาดี            จิตเปรมปรีดิ์  เขาเลื่อมใส  พระตรัยรัตน์
นามสกุล  นิ่มมานพ  เคารพธรรม            เขาชอบอุปถัมภ์  สมณะ  พระปฏิบัติ
ถวายตัว  อุทิศ  เป็นศิษย์วัด               น้อมปฏิบัติ  รับใช้  ได้ทุกอย่าง
ตัวอยู่ไกล  แต่หัวใจ  เขาอยู่ใกล้            เขาปวารณา  รับใช้  ไม่เหินห่าง
ชาวกรุงเทพ  ธนบุรี  มิอำพราง            ระยะทาง  กับภาคใต้  ไม่ใกล้กัน
จังหวัดพัทลุง  อำเภอ  เขาชัยสน            ทั้งเป็นคน  ที่ไม่เคย  ได้สังสรรค์
เป็นบุพเพกต  ปุญญตา   มาเจอะกัน            เขาติดพัน  เลื่อมใส  ใจศรัทธา
ลาทั้งมิตร  ทั้งศัตรู  อยู่ไกลใกล้            จงอย่าได้  มีความทุกข์  เป็นสุขา
ลาคุณพุทธ  บริษัท  ของวัดวา            ทั้งทายก  ทายิกา  ขอลาไป
ลาที่  พึ่งพัก  สำนักสงฆ์               ผู้บำรุง  ศาสนา  น่าเลื่อมใส
ขาวไม่ลอก  ขาวทั้งนอก  ขาวทั้งใน            ขาวจิตใจ  น่าบูชา  สง่างาม
ขาวตาดำ  จิตเป็นธรรม  น่าศรัทธา            มีปัญญา  ช่างแฉล้ม  แหลมเหมือนหนาม
พร้อมคณะ  ของวัด  จักทำตาม            สร้างสนาม  ของสำนัก  ที่พักคน
พลอยสาธุ  โมทนา  ศรัทธาท่าน            สร้างวิมาน  เอาไว้  ไม่ไร้ผล
ผมหลวงตา  บวชภายแก่  แต่อดทน            ไม่อวดตน  อยากดัง  ระฆังกลอง
เปลื้องทั้งบาป  เปลื้องทั้งบุญ  ค้ำจุนวัด         เปลื้องข้องขัด  เปลื้องรักชัง  กันทั้งสอง
เปลื้องทุกข์โศก โรคภัย  อยู่ในท้อง            เปลื้องเงินทอง  เปลื้องญาติมิตร  เคยติดพัน
เราติดเขา  เขาติดเรา  ไม่เอาเรื่อง            ถึงคราวเปลื้อง  เปลื้องแล้วปลด  ให้หมดฝัน
เปลื้องทั้งกาย  เปลื้องทั้งจิต  เคยติดพัน         เปลื้องลาขันธ์  เคยบำรุง  ยามรุ่งเรือง
ขอลาบาตร  แล้วกราบบาท  พระศาสดา         กาสาวพัสตร์  ขอกราบลา  ผ้าสีเหลือง
กราบพระคุณ  ผู้ที่เคารพ  ก่อนจบเรื่อง            หลวงพ่อเปลื้อง  ขอกราบลา  หลับตาเอย

      
เมื่อได้เห็นตัวโง่         เมื่อนั้นเห็นตัวปัญญา
   
เมื่อได้เกิดจิตศรัทธา         เมื่อนั้นเห็นธรรม

คำอำนวยพร
ขอให้คุณจงสวัสดีมีความสุข     
                
แม้เกิดมาพบประสบยุค      อย่าให้ความทุกข์มาแผ้วพาน
   
ขึ้นชื่อศัตรูอยู่ทิศใด            ขอให้จิตใจมาสมาน
   
ให้จิตเป็นพระชนะมาร         ให้มีบริวารอยู่มากมาย
   
ให้ปลอดแคล้วยามความอาพาธ      ทั้งโรคาพยาธิให้เสื่อมหาย
   
ให้มีกำลังดังพระนารายณ์         ให้ปวงชนทั้งหลายได้พึ่งพา
   
ให้มีทรัพย์มากมายอยู่ก่ายกอง      ทั้งแก้วแหวนเงินทองไหลมาหา
   
ให้เป็นเศรษฐีมีปัญญา         เป็นนักปราชญ์เมธาปรีชาชาญ
   
ให้ปวงชนทั้งหลายได้เกื้อหนุน      การุณเมตตาวาจาหวาน
   
ขอให้อายุอยู่ยืนนาน         มีจิตชื่นเบิกบานสำราญกาย
   
จงเป็นสุขสมบูรณ์ทั้งสกุลวงศ์      เมื่อประสงค์สิ่งใดสมใจหมาย
   
ขอให้คุณจงประสบธรรม         ตามคำที่อาตมาได้บรรยาย
         
เกิดความคลายเข้าถึงจุดวิมุตติเทอญ

ทรัพย์สินเงินทองเป็นของชาวโลก      จิตวิโมกข์  เป็นของชาวธรรม
            (
หลุดจากเงินจากทอง)





   
ธรรมะเป็นของจริง         ปฏิบัติจริง         ได้ผลจริง
ธรรมทั้งหลาย            จำได้ง่าย            รู้ได้ยาก
เหมือนครกสาก            ไม่รู้รส            บดอาหาร
รสของเกลือ            ผู้ที่เชื่อ            ต้องรับประทาน
รสมันหวาน            รู้ด้วยใจ            ภายในตน
   
ยังไม่รู้รส            ธรรมทั้งหลาย         มองไม่เห็น
ไม่บำเพ็ญ            จิตไม่คลาย         ไม่ได้ผล
รู้ตามปริยัติ            ไม่ปฏิบัติ            ฝึกหัดตน
ไม่อดทน               ไม่เป็นพระ         ไม่ชนะมาร
   
จิตเป็นพระ         ต้องชนะ            กามฉันท์
เครื่องผูกพัน            อยู่ใน            วัฏฏสงสาร
ตัวมิจฉา               ความเห็นผิด         จิตเป็นพาล
เพราะเกียจคร้าน            ไม่บำเพ็ญ         ไม่เห็นธรรม
   
จิตเห็นธรรม         ก็เห็น            พระตถาคต
จิตรู้รส               จิตปลดเปลื้อง         เป็นเรื่องขำ
แรงสัจจะ               แรงทมะ            ชนะกรรม(คือชนะกาม)
ผู้ปฏิบัติธรรม            หมั่นอดทน         ได้ผลจริง
   
จิตเห็นกาย         ในกาย            คลายกำหนัด
ผู้ปฏิบัติ               จะรู้ได้            ทั้งชายหญิง
เห็นวัตถุ               ภายนอกกาย         กลายเป็นลิง
เจอะของจริง            ตามพุทธพจน์         หมดกังวล
   
เป็นบุญเลิศ         ผู้มาเกิด            เป็นมนุษย์
เป็นชาวพุทธ            จิตศรัทธา         สถาผล
น้อมธรรมะ            มาปฏิบัติ            ฝึกหัดตน
ทุกทุกคน               รู้ได้ชัด            ปัจจัตตัง
   
ผู้ประมาท         ต้องเป็นทาส         อยู่ในโลก
แม้มีโชค               ไม่ทำดี            ไม่มีหวัง
ธรรมทั้งหลาย            พระตรัสไว้         ไม่ปิดบัง
หมดรักชัง            รู้ด้วยตน            ทุกคนเอย

------------------------------------------------------------------------

จบ "รวมคำกลอนธรรมะ ของ หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต วัดบางแก้วผดุงธรรม อ.บางแก้ว จ.พัทลุง"
ได้แก้ไขคำบาลี (เช่น อัปเทนะ สัปเทถะ เป็น อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ และคำไทย บางคำ (เพื่อให้ถูกต้อง) ..ส่วน คำใต้บางคำ ก็คงไว้ เพียงแต่วงเล็บให้เห็น

ได้คัดมาจากเวบธรรมสาธุ ตามลิงค์ http://thammasatu.com/forum/index.php?topic=9655

ขออนุโมทนา โยมหญิงดอกหญ้า ที่มีความตั้งใจพิมพ์จนกระทั่งจบเล่ม แล้วได้นำมาเผยแผ่ เพื่อเป็นธรรมทาน ตามเจตนาของหลวงปู่ (ห้ามขาย พิมพ์แจกได้ ดังที่องค์หลวงปู่อนุญาตไว้แล้ว) 



บทความที่ได้รับความนิยม